Thai2

From P2P Foundation
Jump to navigation Jump to search

Full article at http://www.rasmi-trrm.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=252522

Second part.

P2P และตลาด: ที่เป็นรูปแบบความคิดและที่นอกเหนือจากนั้น

P2P และตลาด

การแลกเปลี่ยน P2P สามารถที่จะถูกพิจารณาในความหมายของการตลาด เฉพาะในแง่ที่ปัจเจกชนที่มีความเป็นอิสระนั้นมีสิทธิเสรีที่จะแบ่งปันข้อมูล หรือนำสิ่งที่ต้องการเอาไปใช้ตามความปรารถนาของตน ด้วยมือที่มองไม่เห็น (invisible hand) เป็นตัวนำพาสิ่งเหล่านี้มาด้วยการที่ไม่ต้องมีกลไกทางการเงินมาผลักดัน แต่ P2P ไม่ใช่ตลาดที่แท้จริงไม่ว่าในความหมายใดก็ตาม ไม่มีเรื่องราคาตลาดหรือการสั่งการจัดการในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับ การจัดสรรทรัพยากร และนอกจากนี้ก็ยังมีข้อแตกต่างอื่นๆดังนี้:

- ตลาดไม่ได้ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของข้อมูลรวมย่อยๆ (collective intelligence) และความเป็น

ฮอลออฟติซซั่ม แต่เป็นลักษณะรูปแบบข้อมูลที่เหมือนกับการรวมตัวของแมลง (insect-like swarming

intelligence) ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีหน่วยงานควบคุมในสภาวะแวดล้อมที่มีการกระจาย แต่บุคคลแต่ละคน

จะเห็นประโยชน์ที่ตนจะได้รับในทันที

- ตลาดจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือที่ ‘เป็นกลาง’ ที่ไม่ใช่พื้นฐานแบบการดำเนินการร่วมกัน ดังนั้นจึงไม่มี

เรื่องของการให้และการต่างตอบแทน

- ตลาดนั้นปฏิบัติกาเพื่อคุณค่าแห่งการแลกเปลี่ยนและกำไร แต่มิใช่คุณค่าแห่งการใช้สอยโดยตรง

- ขณะที่ P2P นั้นมีเป้าหมายในการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ แต่ตลาดกับตอบรับซึ่งความต้องการของผู้ที่มีกำลังซื้อ

เท่านั้น

สิ่งที่เป็นผลเสียของระบบตลาดได้แก่:

- ตลาดไม่ได้ทำหน้าที่ที่ดีสำหรับความต้องการร่วม ที่ไม่ได้รับรองว่าจะมีการจ่ายเงินเต็มที่แก่การงานบริการภาค

ประชาชน (การป้องกันชาติ งานตำรวจ การศึกษา และการสาธารณะสุข) และไม่เพียงแต่พลาดในการติดตามผล

ลบภายนอกที่จะตามมา (ต่อสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายทางสังคม และคนรุ่นต่อไป) แต่ยังจะหยุดยั้งพฤติกรรมดังกล่าว

อย่างจริงจัง

- จากการที่ตลาดเปิดค่อนข้างจะมีผลทำให้กำไรและรายได้ลดลง ตลาดดังกล่าวจะช่วยสนับสนุน ‘การต่อต้าน

ตลาด’(anti-market) ที่ซึ่งธุรกิจการฮั้วและการผูกขาดใช้ความได้เปรียบของตนให้รัฐดำเนินการ ‘กอบโกย’

ตลาดดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง


P2P และทุนนิยม

แม้ว่าจะมีข้อแตกต่างตามขั้นต้น ทั้ง P2P และตลาดทุนนิยมต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างยิ่ง P2P นั้นต้องพึ่งพาตลาด และขณะเดียวกันตลาดจะต้องพึ่ง P2P

การผลิตระหว่างผู้ผลิตที่มีความเสมอภาคนั้นต้องพึ่งพาตลาดอย่างยิ่ง เหตุผลก็คือการผลิตระหว่างผู้ผลิตนั้นก่อให้เกิด

คุณค่าแห่งการใช้สอย ผ่านสิ่งที่เป็นการผลิตที่ไม่ใช่วัตถุโดยส่วนใหญ่ โดยไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงินแก่ผู้ผลิต

ผู้ที่เข้าร่วมไม่สามารถที่จะอยู่ได้จากผลิตระหว่างผู้ผลิตดังกล่าว แต่พวกเขาจะได้ความหมายและคุณค่าจากการดำเนินการ และอาจจะเป็นไปได้ที่การผลิตนั้นจะก่อให้เกิดขีดความสามารถที่เหนือกว่าในประสิทธิภาพและ

กำลังการผลิต เมื่อเทียบกับทางเลือกที่เป็นตลาดแสวงหากำไร ดังนั้น: 1) การผลิตระหว่างผู้ผลิตที่มีความเสมอ

ภาคนั้นได้ครอบคลุมส่วนหนึ่งของการผลิตเท่านั้น ขณะที่ตลาดจะมีเกือบทุกภาคของการผลิต 2) การผลิตระหว่างผู้ผลิตดังกล่าวยังคงต้องพึ่งพารายได้จากตลาดอยู่ดี ที่ผ่านมา P2P นั้นเกิดจากช่องว่างของตลาด

แต่ทั้งตลาดและระบบทุนนิยมนั้นก็ยังต้องพึ่งพา P2P ระบบทุนนั้นได้กลายเป็นระบบที่ต้องพึ่งพาเครือข่ายที่กระจายออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโครงสร้างพื้นฐานของ P2P ในด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ซึ่ง การผลิตนั้นต้องพึ่งพาทีมงานที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งบ่อยครั้งมากมีการจัดสรรในลักษณะที่มาจากการแบบของการบริหารรูปแบบ P2P การสนับสนุนที่บริษัท IT ชั้น นำให้แก่การพัฒนาโอเปนซอสนั้น เป็นบทพิสูจน์ของการใช้สอยซึ่งมาจากแผนงานใหม่ๆในเรื่องของสินทรัพย์ร่วม รูปแบบธุรกิจโดยทั่วไปจะเสมือนว่าธุรกิจ ‘แล่น’ อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานของ P2P และได้สร้างคุณค่าที่มากเกินความต้องการ (surplus value) ผ่านทางการให้บริการต่างๆ ซึ่งสามารถที่จัดเก็บเป็นคุณค่าแห่งการแลกเปลี่ยน (ซึ่งอาจจะหมายความถึงเงินก็ได้) อย่างไรก็ดีการสนับสนุนเรื่องของโปรแกรมซอฟแวร์ที่ให้ฟรีและโอเปนซอส (FS/OS) นั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆทน่าสนใจ ต่างๆ คำถามก็คือโปรแกรมซอฟแวร์และโอเปนซอสที่บริษัทเป็นสปอนเซอร์ และบริษัทเป็นผู้บริหารนั้นยังเป็นรูปแบบของ P2P อยู่หรือเปล่า คำตอยก็คือเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้าใช้โครงสร้างกฎหมายของลิขสิทธิสาธารณะทั่วไปและการริเริ่มด้านโอเปนซอส (GSL/OSI) สิ่งที่ได้กล่าวมาก็จะแผนงานในเรื่องของสินทรัพย์ร่วม แต่หากผู้ผลิตในรูปแบบ P2P นั้นต้องพึ่งพาเรื่องของแหล่งรายได้ และยิ่งกว่านั้นถ้าการผลิตถูกครอบงำโดยลำดับการสั่งการของบริษัท การผลิตดังกล่าวก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น P2P ที่แท้จริง ดังนั้นแรงผลักดันของทุนนิยมก็น่าจะใช้การดำเนินการบางส่วนของรูปแบบ P2P เป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดีการใช้ที่มีกลยุทธและเครื่องมือของโครงสร้างพื้นฐานของ P2P การปฏิบัติการด้วยความร่วมมือนั้นเป็นเพียงเนื้อความส่วนหนึ่ง อันที่จริงแล้วการพึ่งพารูปแบบ P2P ของระบบทุนนิยมร่วมสมัยนั้นเป็นไปโดยระบบ ในขณะที่โครงพื้นฐานของทุนนิยมนั้นมี

การกระจายออกไป ก็ได้มีการสร้างการปฏิบัติการรูปแบบ P2P และก็ต้องพึ่งพาการปฏิบัติการดังกล่าว สถาบันการ

สอนที่ถ่ายถอดระบบทุนนิยมการเรียนรู้ (cognitive capitalism: ‘พวกทุนนิยมที่สร้างสมมุติฐาน’) ของฝรั่งเศส-อิตาลีได้เน้นจริงๆ ตามมุมมองที่น่าจะที่ถูกต้องของผมว่า การสร้างคุณค่า (ของสินค้า) ณ วันนี้ไม่ได้อยู่ในกรอบของการค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังอยู่ภายใต้ความรอบรู้ของพนักงานที่มีความรู้อีกด้วย จากการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การติดต่อที่เป็นระบบและมีประสบการณ์ ซึ่งได้สร้างนวัตกรรมจากตนเองและได้โดยปราศจากส่วนธุรกิจการค้า

สิ่งดังกล่าวเป็นข้อถกเถียงที่สำคัญ เนื่องจากเรื่องที่กล่าวจะตัดสินสิ่งที่เราได้เห็นว่าเป็นทางออกสำหรับการขยายตัว

ของโลกแห่ง P2P สู่สังคมโดยส่วนใหญ่ นั้นก็คือเรื่องของรายได้พื้นฐานทั่วๆไป การเป็นอิสระในการทำงานและ

โครงสร้างรายรับเท่านั้นที่จะรับประกันว่าผู้ผลิตที่มีความเสมอภาค นั้นสามารถที่จะสร้างโลกของคุณค่าแห่งการใช้สอยเพื่อการผลิตอย่างเป็นพลวัตร

สิ่งนี้หมายความว่าการผลิตระหว่างผู้ผลิตดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระบบนี้เท่านั้น ซึ่งก็คือการผลิตของระบบทุนนิยม และไม่อยู่ในวิถีที่นอกเหนือจากระบบทุนเลยหรือ?


P2P และเน็ตอาร์คิสท์

ที่เหนือกว่าความสัมพันธ์ทั่วไปที่เราได้อธิบาย กระบวน การเพื่อนต่อเพื่อนนั้นยังได้ส่งเสริมรูปแบบต่างๆของระบบทุนนิยมกระจาย การใช้โอเปนซอสในธุรกิจนั้นได้รับการสนับสนุนโดยทุนร่วมและบริษัทใหญ่ๆอย่าง IBM นั้นได้

ก่อ ให้เกิดฐานซอฟแวร์ที่จะตัดการผูกขาดที่บริษัท อาทิเช่น ไมโครซอฟท์ และออราเคิลได้เป็นดำเนินการ ขณะที่ บริษัทสกิป เทคโนโลยี เอส เอ (Skype) และบริษัทวอส โอเวอร์ ไอพี ทั่วๆไป (VoIP: ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

เทเลโฟนนิ่งซิสเต็ม) จะเป็นผู้กระจายการสื่อสารพื้นฐานโทรคมนาคมแทน แต่สิ่งดังกล่าวก็หมายความถึงรูปแบบของธุรกิจที่จะ ‘มากกว่า’ เรื่องของสินค้า แต่เป็นการมองไปยังเรื่องของบริการต่างๆที่เกี่ยวกับรูปแบบซอฟแวร์เสรีและโอเปนซอส (FS/OS)โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมต่างๆกำลังเปลี่ยนแปลงตนเองให้ผนวกการสร้างสรรค์จาก

การผลิตของผู้ใช้สอยประโยชน์เอง และการเกิดขององค์กรกลางหรือคนกลางในรูปแบบใหม่อาจจะเกิดขึ้นรอบๆสื่อ

ที่ผู้ใช้สอยประโยชน์ผลิตขึ้นมาเอง ผู้ที่มีความรู้มากมายกำลังเลือกทางเลือกที่ที่ไม่ใช่พนักงานบริษัทและได้กลายมาเป็นเถ้าแก่ (miniprenuers) ที่ยึดพื้นฐานโครงสร้างร่วมที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น (sophisticated participatory infrastructure) เป็นประเภทหน่วยองค์กรร่วมดิจิตอล (digital corporate commons)

องค์กรที่มุ่งแสวงหากำไรที่กำลังจัดตั้งและก่อให้สามารถมีอาณาเขตของการมีส่วนร่วมได้ก่อให้เกิดชนชั้นภายใต้ ที่

ผมเรียกว่า ชนชั้นเน็ตอาร์จิคอล (Netarchical) ถ้าหากกว่าพวกทุนนิยมที่สร้างสมมุติฐานนั้นจะถูกระบุโดยพื้นฐาน

ของทรัพย์สินทางปัญญาเหนือทรัพย์สินอุตสาหกรรมตายตัวแล้ว ดังนั้นการพึ่งพาการขยายตัวของทรัพย์สินทางปัญญา

เพื่อที่จะก่อให้เกิดการผูกขาด และถ้าหากพวกนายทุนเคลื่อนที่ (vectoral capitalists) ที่อธิยาบโดย แม็คเคนซี

วอร์ค (Mackenzie Wark) ที่ได้อำนาจมาจากการควบคุมการเคลื่อนไหวทางสื่อ (media vectors) ดังนั้น พวก

นายทุนที่เป็นเน็ตอาร์คิสท์ จะได้อำนาจมาด้วยการสร้างความสามารถและการกดขี่ขูดรีดจากเครือข่ายที่เข้าร่วม ลองคิด

ดูว่าอาเมซอน (amazon.com) ได้สร้างตัวเองจากคำวิจารณ์ของผู้อ่าน หรือการที่อีเบย์ (ebay.com) ได้สร้างเว็บขึ้นมาจากฐานกระจายของการประมูล หรือที่กูดเกอล (google.com) ได้ สร้างฐานตัวเองจากงานของผู้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ต แม้ว่าบริษัทต่างๆที่กล่าวมานั้นจะพึ่งพาในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อ เงินเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย

แต่ก็ไม่เห็นว่าการคุมควมอำนาจของบริษัทเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ใดๆ ซึ่งเกิดจากการพึ่งพาเรื่องความเป็นเจ้าของเท่านั้น

แต่ที่กว้างกว่านั้น เราสามารถที่จะเรียกทุนนิยมเน็ตอาร์จิคอล เป็นยี่ห้อของทุนนิยมที่โอบอุ้มการปฏิวัติของ P2P และ

เพื่ออุดมการณ์ที่องค์กรต่างๆที่ระบบทุนนิยมเป็นเส้นทางของความเป็นไปได้ทั้งหลายของมนุษยชาติ สิ่งนี้ก็ยังเป็นพลังสำหรับแนวคิดความเป็นเพื่อนสู่เพื่อน ในการปฏิรูปของระบบเศรษฐกิจการเมืองที่เหนือจากการครอบงำของ

ตลาด


มุมมองที่นอกเหนือของ P2P

อันที่การศึกษามุมองที่นอกเหนือของรูปแบบเพื่อนต่อเพื่อน ว่า ทำไมรูปแบบดังกล่าวจึงต้องทั้งพึ่งพาและเป็นส่วนสนับสนุนการผลิตในระบบทุน นิยม ไม่ได้ทำให้หัวเรื่องนี้มีความน่าสนใจน้อยลงแต่ประการใด P2P นั้นมีบทบาทของมุมมองที่นอกเหนือที่เป็นไปเหนือกว่าข้อจำกัดที่ตั้งไว้โดยเศรษฐกิจที่สร้างกำไร:

  • การผลิตระหว่างผู้ผลิตที่มีความเสมอภาคนั้นได้ก่อให้เกิดความร่วมมือของผู้ผลิตต่างๆ ผู้ที่ซึ่งมีหนทางเข้าถึง

เครื่องมือของตน เปฃ้นผลทำให้เกิดคุณค่าแห่งการใช้สอยต่อโครงการ ที่สามารถแข่งขันกับทางเลือกที่ทำ

กำไรต่างๆ

โดย ประวัติศาสตร์แล้ว การแพร่กระจายของการผลิตที่สูงกว่าได้เกิดขึ้นในสังคม แม้ว่าเรานั้นอาจจะเคยติดอยู่กับระบบการผลิตรูปแบบเดิม การแพร่กระจายดังกล่าวได้นำพาไปสู่การขึ้นและลง และอีกทั้งการเปลี่ยนแปลงระบอบของเศรษฐกิจการเมืองในรูปแบบต่างๆ การเกิดขึ้นของรูปแบบทุนนิยมที่มีระบบศักดินานั้นเป็นกรณีในประเด็นดังกล่าว

ความเป็นจริงที่ภาคนำต่างๆของเศรษฐกิจสร้างกำไรนั้น ได้กำลังจงใจชลอการเจริญเติบโตทางด้านการผลิต (ในเพลงต่างๆ และผ่านทางลิขสิทธิ) และพยายามที่จะทำให้การผลิตแบบ P2P และการแบ่งปันจากรูปแบบดังกล่าวเป็นเรื่องผิดที่กฏหมาย นั้นค่อนข้างจะเห็นได้ชัด

  • การปกครองรูปแบบ P2P นั้นอยู่นอกกรอบทั้งเรื่องของอำนาจของตลาดและของรัฐ
  • รูปแบบใหม่ๆของทรัพย์สินร่วมทั่วๆไป ได้อยู่นอกเหนือข้อจำกัดต่างๆของทั้งรูปแบบเอกชนและสาธารณะ

และได้ก่อให้เกิดพื้นที่แห่งพลวัตรของหน่วยร่วมต่างๆ

ใน เวลาที่ความสำเร็จมากๆของการผลิตรูปแบบทุนนิยม ได้ก่ออันตรายต่อโลกของธรรมชาติ และได้สร้างควาเสียหายแก่จิตใจ (และร่างกาย) ของประชากรโลก การเกิดขึ้นของทางเลือกรูปแบบดังกล่าวนั้นจึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และได้ตอบรับกับความต้องการทางวัฒนธรรมใหม่ๆของจำนวนประชากรจำนวนมาก การเกิดขึ้นและเติบโตของรูปแบบ

เพื่อนต่อเพื่อนนั้นจึงมีเรื่องของจรรยาบรรณในการทำงานรูปแบบใหม่ควบอยู่ด้วย (ตามงานเขียน ‘Hacker Ethic’

จรรยาบรรณของแฮกเกอร์ของ Pekka Himanen: เปคคา ฮิมมาเนน) โดยการปฏิบัติทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่

อย่างเช่น วงจร P2P ในการค้นหาเชิงจิตวิญญาณ (ตามการศึกษาหัวข้อเรื่องความร่วมมือของ John Heron:

จอห์น ฮีรอน) แต่ ที่เหนือกว่านั้นทั้งสิ้นจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของรูปแบบดังกล่าว กลุ่มเคลื่อนไหว P2P ที่พึ่งมีการริ่เริ่ม ( ซึ่งรวมในเรื่องของการเคลื่อนไหวด้านซอฟแวร์เสรีและโอเปนซอส การเคลื่อนไหวของการเข้าถึงที่เป็นระบบเปิด และการเคลื่อนไหวในเรื่องวัฒนธรรม และอื่นๆ) ที่ได้สะท้อนออกมาเป็นรูปแบบการปฏิบัติการต่างๆขององค์กร และเป้าหมายในการสร้าง

การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนกระบวนการโลกาภิวัฒน์ (alterglobalisation) กำลังเป็นเสมือนกระบวนการ

เคลื่อน ไหวของกลุ่มสังคมนิยมในยุคอุสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ที่เป็นทางเลือกอย่างถาวรที่ตรงข้ามกับระบบอำนาจนิยม และผู้ที่สร้างการเจริญเติบโตของพลังทางสังคมยุคใหม่ ซึ่งก็คือกลุ่มพนักงานผู้มีองค์ความรู้ (knowledge workers)

ที่จริงนั้นเป้าหมายของรูปแบบทฤษฎี เพื่อนต่อเพื่อน นั้นเป็นเพื่อการให้จุดยืนทางทฤษฎีในการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิบัติ

ของกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆดังกล่าว และเป็นความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจเชิงปฏิรูปของสังคมยุคใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของศูนย์กลางของหน่วยร่วม และอยู่ภายใต้ตลาดและรัฐที่มีการปฏิรูปภายใต้ความเป็นไปได้ของมนุษยชาติ

ทฤษฎี ดังกล่าวจะไม่เพียงอิบายในเรื่องของพลวัตรที่ควรจะเป็นของกระบวนการเพื่อน ต่อเพื่อน แต่การที่กระบวนการสามารถเข้ากับพลวัตรที่เกี่ยวข้องอืนๆ นั้นคือการที่กระบวนการจะสร้างสรรค์รูปแบบต่างคนต่างให้ รูปแบบตลาด

และรูปแบบลำดับบังคับบัญชา ในสิ่งที่การเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกและวิถีความเป็นอยู่ (ontology) หนทางในการ เรียนรู้ (epistemology) และการรวมกลุ่มที่มีคุณค่า (axiology) ที่ซึ่งการปฏิวัตินั้นได้เกิดขึ้น และตามที่หลักการของ P2P สามารถจะเป็นไปได้

องค์ประกอบของทฤษฎีเพื่อนต่อเพื่อนที่สำคัญนั้นจะเป้นการพัฒนาในเรื่องของกลยุทธ และวิถีทางในการปฏิบัติเพื่อการปฏิรูป คำถามหลักก็คือรูปแบบเพื่อนสู่เพื่อนจะเติบโตเกินกว่าโลกที่ไม่ใช่วัตถุนิยมที่รูปแบบดังกล่าวได้เกิดขึ้นหรือไม่


การขยายตัวของรูปแบบ P2P ในการผลิต

จากการที่รูปแบบ P2P มี ความเป็นอิสระบนรูปแบบของการตลาดที่มีอยู่ จะมีโอการที่รูปแบบดังกล่าวขยายตัวออกมากกว่าโลกที่เป็นอยู่ ที่ไม่ใช่วัตถุและไม่มีการแข่งขัน ?

สิ่งต่างๆที่จะกล่าวนี้เป้นความเป็นไปได้ดังนี้:

- รูปแบบ P2P สามารถที่จะเติบดตไม่เป็นเพียงในโลกที่ไม่ใช่วตถุของการผลิตซอฟแวร์และองค์ความรู้ แต่อะไรก็

ตามที่มีหนทางในการกระจายเทคโนโลยี วงจรคอมพิวเตอร์ที่เหลือใช้ การกระจายของการสื่อสารต่างๆ และ

เครือข่ายแพร่กระจายของผู้สื่อสาร

- P2P จะเกิดขึ้นเมื่อรูปแบบของทุนกระจายนั้นมีขึ้น ดังเช่น การใช้รถยนต์ร่วมกันของกลุ่ม สมาชิก ซึ่งเป้นรูปแบบ

ของการเดินทางแบบที่สองในประเทศสหรัฐอเมริกา

- P2P จะเกิดขึ้นเมื่อกระบวนการของการออกแบบจะสามารถแยกออกจากกระบวนการการผลิตทางกายภาพ จำนวน

การวางทุนทรัพยืเพื่อการผลิตสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ร่วมกับการพึ่งพากระบวนการ P2P ต่างๆที่เกี่ยวกับการ

ออกแบบและความคิด

- P2P จะเกิดขึ้นเมื่อทุนการเงินสามารถที่จะกระจาย โครงการริเริ่ม อาทิเช่นธนาคารโซพา (ZOPA: ธนาคาร

แลกและการกู้ยืม) ดังแนวทางนั้น การซื้อและการใช้สินค้าทุนจำนวนมากเป็นสิ่งที่เป้นไปได้ ทุนและความ

ช่วยเหลือด้านการพัฒนาโอเปนซอสก้เป้นตัวอย่างอีกกรณี

- P2P อาจจะขยายตัวออกและอยู่ได้ผ่านการแนะนำ ของการเกิดของเงินเดือนพื้นฐานทั่วไป

สิ่งต่อไปที่สร้างความเป้นอิสระของเงินที่มีเงินเดือนอิสระมีขีดความสามารถ ในการผดุงการพัฒนาเพิ่มเติมของคุณค่า การใช้สอยของ P2P จากหลักการ ‘กิจการการเต็มที่’ (มากกว่า การทำงานเต็มที่) เงินเดือนพื้นฐานนั้นจะได้รับการท้าทายใหม่ และไม่เพียงแต่การแก้ไขปัญหาความยากจนและการตกงาน แต่จะสร้างจะสร้างคุณค่าแห่งการใช้สอยใหม่

ที่สำคัญต่อชุมชนมนุษย์

อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่จะเห็นการผลิตคุณค่าการใช้สอย และการแลกเปลี่ยนนั้นอาจะเป้นการผลิตรูปแบบเดียว

จะเป้นความจริงมากกว่าในการเห็นรูปแบบเพื่อนต่อเพื่อนเป้นส่วนหนึ่งของกรบวนการแลกเปลี่ยน ในกรณีดังกล่าว

รูปแบบเพื่อนต่อเพื่อนจะเกิดขึ้นด้วยรูปแบบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ แต่จะเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างยิ่ง

เศรษฐกิจการเมืองหน่วยร่วมจะมีศูนย์กลางรอบๆรูปแบบเพื่อนต่อเพื่อน แต่ก็จะเกิดร่วมกับ

  • โลกของการให้ (gift-economy) ที่มีพลังและมีชีวิตชีวาที่อยู่กลางการเกิดของเงินตราชุมชนที่มีหน่วยเป็นเวลา
  • โลกการปฏิรูปสำหรับการแลกเปลี่ยนทางตลาด เป็นลักษณะ ‘ทุนนิยมธรรมชาติ’ (natural capitalism)

ที่พอล ฮอคเคน เดวิด คอร์เทน และเฮซอล เฮนเดอร์ซัน (Paul Hawken David Korten and

Hazel Henderson) ที่ซึ่งค่าของการผลิตกลับคืนของธรรมชาติและสังคมนั้นจะไม่มีค่าใช้จ่ายภายนอก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทิ้งการเติบโตที่ครอบงำ ( growth imperative) สำหรับเศรษฐกิจลอดบ่วง (throughput economy) ตามคำอธิบายของเฮอร์แมน เดลิย์ (Herman Daly)

  • รัฐที่ปฏิรูปซึ่งมีการดำเนินการในแนวคิดที่เป็นการเป็นหุ้นส่วนหลากหลาย (multistakeholdership) และไม่มีการดูดกลืนโดยผลประโยชน์ของบรรษัท แต่เป็นการกระทำอย่างยุตะรรมระหว่างหน่วยร่วม ตลาด และเศรษฐกิจการให้

เป้าหมายดังกล่าวอาจจะเป็นแรงบรรดาใจเพื่อทางเลือกที่มีพลวัตร จากแนวครอบงำของนิโอลิเบอรอล (neoliberal

dominance) และสร้างมุมมองที่หลากหลายของกลุ่มเคลื่อนไหวของ ‘ผู้เป็นแนวหน่วยร่วม’ (‘Common-ist)

อย่างกว้างขวางด้วยแรงบรรดาลใจจากเป้าหมายดังกล่าว


แหล่งข้อมูล (Resources)

ข้อมูลเพิ่มเติม (More Information)


Pluralities/Integration monitors P2P developments and is archived at: http://integralvisioning.org/index.php?topic=p2p

A longer manuscript and book-in-progress on the subject is available at: http://integralvisioning.org/article.php?story=p2ptheory1

The Foundation for P2P Alternatives has a website under construction at: http://p2pfoundation.net/index.php/Manifesto


หนังสืออ้างอิง (Bibliography)

Barbrook, Richard. Media Freedom. London: Pluto, 1995

Ferrer, Jorge N. Revisioning Transpersonal Theory: A Participatory Vision of Human Spirituality. Albany: SUNY, 2001

Fiske, Alan Page. Structures of Social Life. New York: Free Press, 1993

Gunderson, Lance H. and C.S. Holling. Panarchy: Understanding Transformations in Systems of Humans and Nature. Washington, D.C.: Island Press, 2001

Heron, John. Sacred Science. Llangarron, Ross-on-Wye, UK: PCCS Books, 1998

Galloway, Alexander . Protocol: How Control Exists After Decentralization Cambridge, Mass.: MIT Press, 2004

Himanen, Pekka. The Hacker Ethic and the Spirit of the Information Age. New York: Random House, 2002

Inglehart, Ronald. Culture Shift in Advanced Industrial Society. Princeton, N.J.: Princeton University Press, 1989

Kane, Pat. The Play Ethic: A Manifesto for a Different Way of Living. London: Macmillan, 2003

Lazzarato, Maurizio. Les Revolutions du Capitalisme.Paris: Les Empecheurs de Penser en Rond, 2004

Lessig, Lawrence. 1) The Future of Ideas. New York: Vintage, 2002; 2) Free Culture. New York: Penguin U.S.A., 2004

Raymond, Eric. The Cathedral and the Bazaar. Sebastopol, CA: O’Reilly, 2001

Sagot-Duvauroux, Jean-Louis. Pour la Gratuite. Paris: Desclee-De Brouwer, 1995

Sahlins, Marshall D. Stone Age Economics. Chicago: Aldine, 1972

Skolimowski, Henryk. The Participatory Mind. New York: Penguin USA, 1995

Skrbina, David. Panpsychism in the West. Cambridge, MA: MIT Press, 2005

Stallman, Richard. Free Software, Free Society. Boston, MA: GNU Press, 2002

Stewart, John. Evolution’s Arrow. Canberra: Chapman Press, 2000

Surowiecki, James. The Wisdom of Crowds. New York: Anchor, 2005

Tuomi, Ilkka. Networks of Innovation. Oxford: Oxford University Press, 2003

Vercelonne, Carlo, dir. Sommes-nous sorti du capitalisme industriel? Paris: La Dispute, 2003

von Hippel, Eric. The Democratization of Innovation. Cambridge, MA: MIT Press, 2004

Wark, McKenzie. A Hacker Manifesto. Cambridge, MA: Harvard University Press, 2004

Weber, Steve. The Success of Open Source. Cambridge, MA: Harvard University Press, 2004


ประวัติผู้เขียน

ผู้เขียนไมเคิล โบเวนส์ (Michel Bauwens) นั้นเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในการปฏิวัติรูปแบบดิจิตอลในบ้านของ

เขาที่ประเทศเบลเยี่ยม ที่ซึ่งเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ริ่เริ่มทางด้านอินเตอร์เน็ต (internet pioneer) เขาได้ก่อตั้งบรรดาบริษัททู-ดอดคอม (two dot.com companies) มากมาย และยังเคยเป็นผู้อำนวยการทางยุทธศาสตร์ของ

ธุรกิจอีบิซซิเนสให้แก่บริษัทโทรคมนาคมที่ชื่อว่าเบลกาคอม (Belgacom) และเคยเป็น ‘ผู้จัดการภาคพื้นยุโรปของ

ธอดลิเดอร์ชีพ’ (‘European Manager of Thought Leadership’) ให้บริษัทที่ปรึกษาด้านการทำเว็บที่ชื่อ

มาร์ชเฟริท์ (MarchFIRST) เขาเคยได้สร้างหนังทิวีความยาว 3 ชั่วโมงที่ชื่อว่า ‘เทคโนคาลิปส์ ‘TechnoCylyps’) หนังแนวปรัชญาของเทคโนโลยีและจุดจบของมนุษย์’ และได้ร่วมเขียนหนังสือภาษาฝรั่งเศส

สองเล่มในหัวข้อ ‘มานุษยวิทยาของสังคมดิจิตอล’ และได้เป็นบรรณาธิการบริหารของหนังสือนิตยสารดิจิตอลที่มีชื่อเสียง ‘เวฟ’ (‘wave’) ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย ที่ซึ่งเขาได้สร้างสรรค์มูลนิธิทางเลือก P2P (Foundation for P2P Alternatives) เขายังได้สอนวิชามนุษยวิทยาของสังคมดิจิตอล สำหรับนักศึกษาปริญญาโทที่ไอเชค เซ็นต์หลุย เมืองบรัซเซลประเทศเบลเยี่ยม ( ICHEC/St. Louis in Brussels) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่มหาวิทยาลัยพายัพและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในประเทศไทย


i http://www.sscnet.ucla.edu/anthro/faculty/fiske/relmodov.htm

ii Personal communication with the author